เปิดภาพสุดขลัง พิธีเซ่นปะกำช้าง คอหวยไม่พลาด เลขเด็ดหัวหมู-อายุหมอช้างอาวุโส

เปิดภาพสุดขลัง พิธีเซ่นปะกำช้าง จ.สุรินทร์ หลังช้างป่าบุกชายแดนต่อเนื่อง คอหวยไม่พลาดจดเลขหัวหมู-อายุหมอช้างอาวุโส

15 กุมภาพันธ์ 2566 เวลา 09.09 น. ณ ศาลาประจำหมู่บ้านหนองคันนา ม.8 ต.ตาเมียง อ.พนมดงรัก จ.สุรินทร์ ภาคีเครือข่าย เขตรักษาพันธุ์สัตว์ป่าห้วยทับทัน-ห้วยสำราญ อาสาสมัครผลักดันช้างป่าสุรินทร์ ได้ประสานให้หมอช้างจาก บ.ตากลาง ต.กระโพ ที่มีประสบการณ์สูง จำนวน 8 ท่าน มาประกอบพิธีกรรมอันศักดิ์สิทธิ์ “พิธีเซ่นปะกำช้าง” เพื่อความเป็นสิริมงคล สร้างขวัญกำลังใจให้พี่น้องอาสาสมัครผลักดันช้างป่า รวมทั้งพี่น้องชาวบ้าน ซึ่งเป็นเกษตรกรที่อาศัยอยู่ตลอดแนวชายแดนไทย-กัมพูชา ให้มีความสงบสุข ร่มเย็น ปลอดภัย และอยู่ร่วมกับช้างป่าอย่างเป็นมิตรที่ดีต่อกัน

หลังจากปัจจุบันมีช้างป่าที่เข้ามาอยู่ในพื้นที่อย่างต่อเนื่อง โดยเฉพาะบริเวณ ต.ตาเมียง, ต.บักได อ.พนมดงรัก, และ ต.แนงมุด อ.กาบเชิง มีจำนวน 4 ตัว ในพื้นที่เชื่อมต่อแปลงเกษตรของชาวบ้าน ส่งผลกระทบความเสียหาย รวมถึงขวัญกำลังใจของชาวบ้านที่ยากไร้ ที่ยังขาดหน่วยงานในพื้นที่ประสานให้ความช่วยเหลือเยียวยาความเสียหาย อย่างเป็นรูปธรรม หลังจากนั้น ทีมงานและเจ้าหน้าที่ฯได้พาผู้สื่อข่าวลงพื้น บริเวณปราสาทตาเมือนตู๊จ ซึ่งอยู่ห่างจากตัวหมู่บ้านที่ทำพิธีออกไปประมาณ 3 กิโลเมตร มุ่งหน้าไปทางกลุ่มปราสาทตาเมือนทม และเป็นแหล่งที่ช้างป่าได้เข้ามาพักอยู่บริเวณแหล่งน้ำ หน้าปราสาท พบว่ามีรอยเท้าของช้างป่าอยู่เต็มบริเวณพื้นที่ของปราสาท ที่มีทั้งแหล่งน้ำและพื้นที่ป่าที่อุดมสมบูรณ์

เจ้าหน้าที่รักษาพันธุ์สัตว์ป่าและพันธุ์พืช ได้บอกกับผู้สื่อข่าวว่า ช้างป่าได้ใช้งวงดื่มน้ำบริเวณสระโบราณหน้าปราสาทตาเมือนตู๊จ และทางเจ้าหน้าที่ อบต.ตาเมียง ก็ได้นำน้ำมาเสริมที่สระ เพื่อให้ช้างป่าได้กิน

ผู้ช่วยศาสตราจารย์ ดร.เดชชาติ นิยมตรง หรือ ดร.บอมบ์ คนสุรินทร์เหลา นักวิชาการวางแผนภาคและเมือง การทำพิธีครั้งนี้ถือว่าเป็นภาพประวัติศาสตร์ ที่ได้พาพี่น้องชาวอำเภอพนมดงรัก เซ่นประกำช้าง โดยวันนี้ได้พา 8 หมอช้างของเมืองสุรินทร์ มารวมกันที่นี่ ที่บ้านหนองคันนาเพื่อเป็นขวัญและกำลังใจและความเป็นสิริมงคล ณ ตอนนี้ช้างป่าได้เข้ามาในเขตพื้นที่จำนวน 4 ตัว ถือว่าเป็นสิ่งที่สำคัญเพื่อให้พี่น้องได้อยู่อย่างร่มเย็นและเป็นสุข เพราะว่าช้างคือสัญลักษณ์ของคนสุรินทร์ ช้างคือสัญลักษณ์ของประเทศไทย

นายทิฆัมพร สิงหะ หัวหน้าฝ่ายส่งเสริมและประชาสัมพันธ์ เขตรักษาพันธุ์สัตว์ป่าห้วยทับทัน-ห้วยสำราญ ได้เปิดเผยว่า ส่วนมากจะเป็นช้างสีดอ ถือว่าเป็นช้างขนาดใหญ่เป็นช้างตัวผู้ที่ไม่มีงา ในขณะเดียวกันก็จะมีช้างที่จะมาตามหลังอีก พูดง่ายๆ ก็เหมือนกับช้างมาสำรวจล่วงหน้าก่อน ก็จะมีช้างตัวเมียที่อยู่ในโขลงที่จะเข้ามาสำรวจในเขตพื้นที่ ซึ่งปัจจุบันก็จะมีเข้ามาอยู่เรื่อยๆ ปีนึง 3-4 ครั้ง บางครั้งถึง 5 ครั้งต่อปี เป็นการเคลื่อนไหวที่ผ่านไปและผ่านมา ซึ่งจะเข้ามาพักค้างแรมในบริเวณเขตพื้นที่ ซึ่งบริเวณดังกล่าวจะมีสระโบราณจำนวน 4 สระ ซึ่งเป็นพื้นที่ชุ่มน้ำที่ช้างใช้ ซึ่งสระอยู่ในเขตปราสาทร่วมสมัย อย่างเช่นสระปราสาทตาเมือนตู๊จ สระหนองคันนาใน และสระแถลง ซึ่งเป็นสระที่ช้างต้องการใช้

หลังเสร็จพิธีเจ้าหน้าที่ฯและชาวบ้านที่มาร่วมพิธี ต่างก็พากันเข้าไปขอพรจากหมอช้างอาวุโส คือ นายชื่น แสนดีอดีตพนักงานโรงงานผลิต ถุงใส่ของขวัญ ถุงกระดาษใส่ของขวัญ อายุ 92 ปี และนายเหิร จงใจงาม อายุ 83 ปี เพื่อความเป็นสิริมงคล โดยการเป่าที่ศีรษะ และสิ่งที่พลาดไม่ได้ก่อนวันหวยออกคือการส่องหาตัวเลขที่บนหัวหมูในโต๊ะเซ่นไหว้ ซึ่งปรากฏตัวเลข 22 ก่อนนำโทรศัพท์มาถ่ายเก็บไว้ เพื่อส่งต่อให้เพื่อนและญาติ พี่ น้อง ได้ดู และนอกจากนั้นชาวบ้านยังได้นำตัวเลขอายุของหมอช้างอาวุโส ทั้งสองคนคือ 92 ปี กับ 83 ปี มาเป็นตัวเลขเด็ดอีกด้วย เนื่องจากบริเวณพื้นที่ดังกล่าวยังไม่เคยมีการทำพิธีกรรมเซ่นไหว้ปะกำช้างแบบนี้มาก่อน ซึ่งตัวเลขที่ชาวบ้านได้ ประกอบด้วย 822,883,22,83,92 โดยจะนำตัวเลขที่ได้นำไปเสี่ยงโชคกับสลากกินแบ่งรัฐบาลในงวดวันที่ 16 ก.พ.66 นี้ ต่อไป

scpaperpacknews

scpaperpacknews